วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แบบทดสอบ ความรู้รอบตัวสารสนเทศ :: คำสั่ง ให้นักศึกษาตอบคำถามคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้ตรงกับคำอธิบายต่อไปนี้ (เก็บคะแนนความรู้รอบตัว 6 คะแนน)


 คำสั่ง ให้นักศึกษาตอบคำถามคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้ตรงกับคำอธิบายต่อไปนี้ (เก็บคะแนนความรู้รอบตัว 6 คะแนน)


         1. อุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณระหว่างแอนะล็อกกับดิจิทัล 
สัญญาณ Analog และสัญญาณ Digital (ต่อ)
ข้อมูลแอนะล็อกและสัญญาณแอนะล็อกสามารถถูกรบกวนได้ง่ายจากสัญญาณรบกวน (Noise) หากมีสัญญาณรบกวนปะปนมากับสัญญาณแอนะล็อกแล้ว จะส่งผลให้การส่งข้อมูลช้าลง และทำให้การจำแนกหรือตัดสัญญาณรบกวนออกจากข้อมูลต้นฉบับทำได้ยาก

เมื่อสัญญาณแอนะล็อกถูกส่งบนระยะทางที่ไกลออกไป ระดับสัญญาณจะถูกลดทอนลง ดังนั้นจึงต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Amplifier ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการเพิ่มกำลังหรือความเข้มให้สัญญาณ ทำให้สามารถส่งสัญญาณในระยะทางที่ไกลออกไป แต่การเพิ่มกำลังของสัญญาณของ Amplifier จะส่งผลให้สัญญาณรบกวน (Noise) ขยายเพิ่มขึ้นด้วย

คาบ (Period) เป็นระยะเวลาของสัญญาณที่เปลี่ยนแปลงไปจนครบรอบ โดยจะมีรูปแบบซ้ำๆ กันในทุกช่วงเวลา โดยหน่วยวัดของคาบเวลาจะใช้เป็นวินาที และเมื่อคลื่นสัญญาณทำงาน
ครบ 1 รอบ จะเรียกว่า Cycle
                                                               คาบเวลา (Period)
เฟส (Phase)
เฟส เป็นการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณ ซึ่งจะวัดจากตำแหน่งองศาของสัญญาณเมื่อเวลาผ่านไป โดยเฟสสามารถเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง (Phase Shift) ในลักษณะเลื่อนไปข้างหน้าหรือถอยหลังก็ได้ การเลื่อนไปข้างหน้าจานวนครึ่งหนึ่งของลูกคลื่น จะถือว่าเฟสเปลี่ยนแปลงไป 180องศ
สัญญาณดิจิตอลและข้อมูลดิจิตอล (Digital Signals and Digital Data)
  เป็นคลื่นแบบไม่ต่อเนื่อง มีรูปแบบของระดับแรงดันไฟฟ้าเป็นคลื่นสี่เหลี่ยม
(Square Wave) โดยสัญญาณสามารถเปลี่ยนแปลงจาก 0 เป็น 1 หรือจาก 1 เป็น 0 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสัญญาณในลักษณะก้าวกระโดดข้อดีของสัญญาณดิจิตอล คือ สามารถสร้างสัญญาณด้วยต้นทุนที่ต่ากว่า และทนทานต่อสัญญาณรบกวนได้ดีกว่า และยังสามารถจำแนกระหว่างข้อมูลกับสัญญาณได้ง่ายกว่า หากมีสัญญาณรบกวนไม่มาก ก็ยังสามารถคงรูปสัญญาณเดิมได้
ข้อเสียของสัญญาณดิจิตอล คือ สัญญาณจะถูกลดทอนหรือเบาบางลง เมื่อถูกส่งในระยะทางไกลๆ ซึ่งในการส่งข้อมูลระยะไกลๆ นั้น สัญญาณแอนะล็อกจะทำได้ดีกว่า สาหรับอุปกรณ์ที่ช่วยยืดระยะทางในการส่งข้อมูลดิจิตอล เรียกว่า เครื่องทวนสัญญาณ(Repeater) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้า regenerate สัญญาณที่ถูกลดทอนลงให้คงรูปเดิมเหมือนต้นฉบับ และสามารถส่งสัญญาณได้ระยะไกลขึ้น
  สัญญาณรบกวนที่ปะปนมาพร้อมกับข้อมูล ถึงจะสามารถใช้อุปกรณ์กลั่นกรองสัญญาณ เพื่อช่วยให้สัญญาณมีคุณภาพ รวมถึงลดความเบาบางของสัญญาณรบกวนลงได้ แต่หากสัญญาณรบกวนมีปริมาณสูงมาก ย่อมส่งผลกระทบต่อความถูกต้องของข้อมูล

สัญญาณดิจิตอลส่วนใหญ่เป็นสัญญาณชนิดไม่มีคาบ ดังนั้น คาบเวลาและความถี่จึงไม่นำมา
ใช้งาน โดยมีคำที่เกี่ยวข้อง 2 คำ คือ
1. Bit Interval ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับคาบ โดย Bit Interval คือ เวลาที่ส่งข้อมูล 1 บิต
2. Bit Rate คือ จำนวนของ Bit Interval ต่อวินาที โดยมีหน่วยวัดเป็น บิตต่อวินาที (bps)
โดย ไบนารี 1 แทนแรงดันบวก ไบนารี 0 แทนแรงดันศูนย์
                   
                   2. ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวนผล 
การประมวลผลข้อมูล
         การนำข้อมูลมาประมวลผลให้เป็นสารสนเทศนั้น  มีขั้นตอนในการทำงานหลายขั้นตอนประกอบกัน  เช่น  การรวบรวมข้อมูล  การแยกแยะข้อมูลออกเป็นกลุ่ม      การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การคำนวณหาค่าต่าง ๆ  การจัดลำดับ  และการรายงานผล   เช่น  การจัดทำสมุดรายงานของนักเรียนมีขั้นตอนดังนี้ การรวบรวมข้อมูลของนักเรียนแต่ละคน  ได้แก่ เลขประจำตัว  ชื่อ  นามสกุล วิชาที่สอบ  คะแนนที่ได้ในแต่ละวิชา ตรวจสอบความถูกต้องของคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบต่าง ๆ ว่าตรงกับใบบันทึกคะแนนหรือไหมคำนวณหาคะแนนรวมทุกวิชาจัดลำดับที่ของนักเรียนบันทึกในสมุดรายงานประจำตัวนักเรียน
การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
นิยามเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ
      ข้อมูล (Data)  หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล วัตถุหรือสถานที่ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การเก็บรวบรวม
การวัด ข้อมูลมักอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ข้อมูลส่วนใหญ่มักใช้แสดงปริมาณหรือการกระทำต่างๆ
ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์หรือการประมวลผล ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่อง เช่น ชื่อของนักเรียน อายุ เพศ อุณหภูมิห้อง จำนวนโต๊ะ และ
เก้าอี้ของนักเรียน เป็นต้น
      สารสนเทศ (Information ) หมายถึง ผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลซึ่งสามารถไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ เช่น การนำคะแนน
สอบมาตัดเกรด เกรดที่ได้ คือสารสนเทศ ซึ่งสามารถนำไปตัดสินบางสิ่งบางอย่างได้ สารสนเทศที่ดีจะต้องเกิดจากข้อมูลที่ดี
      การประมวลผล (Processing) คือ การกระทำต่อข้อมูลดิบ (Raw data) ในลักษณะใดก็ได้ เพื่อให้ได้ข้อมูลสนเทศ (Information)
                           3. โปรแกรมเฉพาะที่ช่วยให้อุปกรณ์รับ/ส่งข้อมูล สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้ 
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฎเกณฑ์ในการส่งหรือรับข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการ
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ใน รูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับ รับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ
3. โปรโตคอล  (Protocol)
โปรโตคอล คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC  เป็นต้น
4. ซอฟต์แวร์ (Software)
การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell’s Netware, UNIX, Windows NT, Windows 2003 ฯลฯ
5. ข่าวสาร (Message)
เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้
5.1  ข้อมูล (Data)  เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
5.2  ข้อความ (Text)  อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้ค่อนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง
5.3 รูปภาพ (Image)  เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บ และใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก
5.4  เสียง (Voice)  อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ
6. ตัวกลาง (Medium)
เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับ หรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สำหรับสื่อสารข้อมูล
เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต้นทางเข้ากับคอมพิวเตอร์ปลายทาง โดยใช้ตัวกลางหรือสื่อกลางสำหรับเชื่อมต่อ ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ การต่อแบบสายตรงตามรูปนั้น อาจจะต่อตรงโดยใช้ช่องต่อแบบขนานของเครื่อง ทั้ง 2 เครื่อง เพื่อใช้สำหรับโอนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องได้ หรืออาจจะต่อโดยใช้อินเทอร์เฟสการ์ดใส่ไว้ใน เครื่องสำหรับเป็นจุดต่อก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งานเป็นการเชื่อมต่อ ระยะไกลจากคอมพิวเตอร์ต้นทางไปยังปลายทาง โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ
การส่งสัญญาณข้อมูล (Transmission Definition)
การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆจากอุปกรณ์สำหรับส่งหรือผู้ส่ง ผ่านทางตัวกลางหรือสื่อกลาง ไปยังอุปกรณ์รับหรือผู้รับข้อมูลหรือข่าว ซึ่งข้อมูลหรือข่าวสารที่ส่งไปอาจจะอยู่ในรูปของสัญญาณเสียง  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแสงก็ได้ โดยที่สื่อกลางหรือตัวกลางของสัญญาณนั้นแบ่งเป็น 2 ชนิด คือชนิดที่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ เช่น สายเกลียวคู่ (Twisted paire) สายโทรศัพท์ สายโอแอกเชียล (Coaxial) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ส่วนตัวกลางอีกชนิดหนึ่งนั้นไม่สามารถกำหนดเส้นทางของสัญญาณได้ เช่น สุญญากาศ น้ำ และ ชั้นบรรยากาศ เป็นต้น
                                                         4. คอมพิวเตอร์มือถือที่ใช้แพร่หลายที่สุด   
 ระบบสารสนเทศ (Infotmation System: IS) เป็นระบบที่จัดเก็บ (input)และประมวลผล (process) ข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ รวมถึงช่วยในการเผยแพร่ (output) สารสนเทศซึ่งองค์ประกอบของสารสนเทศ ประกอบด้วย 5ส่วนคิอ บุคลากร ระเบียบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล
1.  บุคลากร (people) เนื่องจากทุกๆงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์จะต้องกระทำโดยบุคลากรหรือ ผู้ใช้ (End user) ทั้งสิ้น ดังนั้นบุคลากรจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ
2.  ระเบียบปฏิบัติการ (procedure) เป็นกฎหรือแนวทางสำหรับบุคลากรในการใช้ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล ระเบียบวิธิปฏิบัติการอาจรวมถึงคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่ผู้ชำนาญด้านคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นก็ได้
3.  ซอฟต์แวร์ (software) หรือ โปรแกรม (program) ประกอบด้วยคำสั่งหลายๆคำสั่งที่บอกให้คอมพิวเตอร์รู้ว่าจะทำตามขั้นตอนอย่างไร ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่แปลงข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลในรูปของสารสนเทศ (information) เช่น โปรแกรม Payroll จะสั่งให้คอมพิวเตอร์ถามข้อมูลชั่วโมงการทำงานในแต่ละสัปดาห์(ข้อมูล) แลัวนำมาคูณกับอัตราค่าตอบแทน (ข้อมูล) เพื่อคำนวณค่าจ้างพนักงานที่ได้รับในแต่ละสัปดาห์ (สารสนเทศ)
4.  ฮาร์ดแวร์ (hardware) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ ได้แก่ คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ หน่วยระบบ และอุปกรณ์อื่นๆ ฮาร์ดแวร์จะถุกควบคุมโดยซอฟต์แวร์
5.  ข้อมูล (data) หรือ ข้อมูลดิบ (raw data) คือ ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลอาจอยู่ในรูปของข้อความ ตัวเลข รูปภาพ และเสียง เช่น จำนวนข้อมูลที่ทำงานและอัตราค่าตอบแทน เป็นต้น ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า สารสนเทศ (information) ตัวอย่างของสารสนเทศ เช่น ค่าจ้างที่พนักงานได้รับในแต่ละสัปดาห์ เป็นต้น
ปัจจุบันระบบสารสนเทศมีองค์ประกอบที่สำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะเชื่อมต่อ (connectivity) ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนสารสนเทศกันได้ ซึ่งช่วยขยายขีดความสามารถและประโยชน์ของระบบสารสนเทศออกไปได้มากขึ้น
ในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะมีผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่เขียนระบบปฏิบัติการ พัฒนาซอฟต์แวร์ และจัดเก็บข้อมูล แต่สำหรับระบบไมโครคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะเป็นผู้ดำเนินการในส่วนต่างๆเหล่านี้เอง ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องเข้าใจถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) ซึ่งรวมถึงซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล

บุคลากร

บุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ทั้งนี้เนื่องจากการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในทุกวันนี้ต้องเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศเกือบตลอดเวลา เช่น การสร้างเอกสารโดยใช้โปรแกรมประมวลผลคำ หรือการใช้อินเอต์เน็ตในการติดต่อสื่อสารต่างๆ

             5. บริการบนอินเทอร์เนตที่ช่วยให้เข้าถึงทรัพยากรต่างๆโดยผ่านส่วนติดต่อแบบมัลติมีเดีย 

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

       ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบเน็ตเวิร์ก คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้"เครือข่ายนั้นมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้านหรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ส่วน Home Network หรือเครือข่ายภายในบ้าน ซึ่งเป็นระบบ LAN ( Local Area Network) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ หมายถึง การนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ มาเชื่อมต่อกันในบ้าน สิ่งที่เกิดตามมาก็คือประโยชน์ในการใช้คอมพิวเตอร์ด้านต่างๆ เช่น
  1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน กล่าวคือ มีเครื่องพิมพ์เพียงเครื่องเดียว ทุกคนในเครือข่ายสามารถใช้เครื่องพิมพ์นี้ได้ ทำให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์หลายเครื่อง (นอกจากจะเป็นเครื่องพิมพ์คนละประเภท)
  2. การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องอุปกรณ์เก็บข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้นในการโอนย้ายข้อมูลตัดปัญหาเรื่องความจุของสื่อบันทึก ยกเว้นอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลหลักอย่างฮาร์ดดิสก์ หากพื้นที่เต็มก็คงต้องหามาเพิ่ม
  3. การติดต่อสื่อสาร โดยคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเป็นระบบเน็ตเวิร์ก สามารถติดต่อพูดคุยกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น โดยอาศัยโปรแกรมสื่อสารที่มีความสามารถใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เช่น เดียวกัน หรือการใช้อีเมล์ภายในก่อให้เครือข่าย Home Network หรือ Home Office จะเกิดประโยชน์นี้อีกมากมาย
  4. การใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อในระบบเน็ตเวิร์กสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทุกเครื่อง โดยมีโมเด็มตัวเดียว ไม่ว่าจะเป็นแบบอนาล็อกหรือแบบดิจิตอลอย่าง ADSL ยอดฮิตในปัจจุบัน
                                               6. เครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษcomputer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล,หน่วยความจำหน่วยจัดเก็บข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่นเครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
อุปกรณ์เครือข่ายที่สร้างข้อมูล, ส่งมาตามเส้นทางและบรรจบข้อมูลจะเรียกว่าโหนดเครือข่าย. โหนดประกอบด้วยโฮสต์เช่นเซิร์ฟเวอร์, คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่าย อุปกรณ์สองตัวจะกล่าวว่าเป็นเครือข่ายได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการในเครื่องหนึ่งสามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระบวนการในอีกอุปกรณ์หนึ่งได้
เครือข่ายจะสนับสนุนแอปพลิเคชันเช่นการเข้าถึงเวิลด์ไวด์เว็บ, การใช้งานร่วมกันของแอปพลิเคชัน, การใช้เซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บข้อมูลร่วมกัน, การใช้เครื่องพิมพ์และเครื่องแฟ็กซ์ร่วมกันและการใช้อีเมลและโปรแกรมส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีร่วมกัน

7. อุปกรณ์ทางกายภาพของไมโครคอมพิวเตอร์ 

ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)

ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย
อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้


คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ Desktop หรือ Desktop Computer  เป็นคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ งานบนโต๊ะ ที่ใช้ตามบ้านหรือสำนักงานทั่วไป มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแป้นพิมพ์ เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล( PC Computer  เป็นต้น ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีการผลิตที่เน้นให้มีความสวยงาม น่าใช้มากยิ่งขึ้น และได้รับความนิยมในการใช้งานมาก เนื่องจากราคาไม่แพงมาก เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์แบบอื่นๆ


แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: laptop computer) หรือเรียกย่อว่า แล็ปท็อป (นิยมอ่านในภาษาไทยว่า แหล็ป-ท็อป) หรือ โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ (Notebook computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก สามารถขนย้ายหรือพกพาได้สะดวก โดยปกติจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1-3 กก. การทำงานของแล็ปท็อปจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี และในขณะเดียวกันก็ยังสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าได้โดยตรงจากการเสียบปลั๊กไฟ ประสิทธิภาพของแล็ปท็อปโดยทั่วไปนั้นเทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแบบปกติ ในขณะที่ราคาของแล็ปท็อปจะสูงกว่า โดยส่วนที่จะแตกต่างกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปคือ จอภาพจะเป็นลักษณะจอแอลซีดี และจะมีทัชแพดที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของลูกศรบริเวณหน้าจอ


Ultrabook คือ รูปแบบ Notebook ที่คาดว่าจะเป็น notebook รูปแบบใหม่ในอนาคตนั่นเอง ซึ่งจุดเน้นก็คือ Ultrabook มีความบางเบามากเป็นพิเศษ  โดยใช้ SSD เป็นตัวเก็บข้อมูลทำให้โหลดและเซฟงานได้เร็วมาก โดยมาตฐานของอินเทลระบุความหนาไว้ที่ ไม่เกิน 21 มม. ต้องมีระยะเวลาของแบตเตอรี่อย่างน้อย 5-8 ชม.  ถ้าใช้โหมดแสตนบายจะต้องเปิดได้ภายในเวลา  2 วินาที และมีระบบความปลอดภัยดีเยี่ยม และราคาไม่เกิน 1,000 USD ซึ่ง Ultra book นั้นก็มีลักษณะคล้ายกับ  Macbook Air
โดย Ultrabook นั้นสามารถทำได้ทุกอย่างที่ tablet ทำได้ (รวมถึงสัมผัสหน้าจอ) แต่ Ultrabook นั้นจะมีคีย์บอร์ดด้วย
Netbook ส่วนใหญ่จะมีสินค้าระดับล่างถึงกลาง ปัจจุบัน Ultrabook จะมาจับตลาดกลุ่มกลางและกลุ่มบน โดยมีสมรรถนะที่ดีกว่า netbook
โดยในอนาคตนั้น Intel คาดว่า 40% ของโน้ตบุ๊คที่วางจำหน่ายในปี 2012 จะเข้าข่าย Ultrabook
Ultrabook ที่ตอนนี้มีให้เห็นแล้วก็มี Asus UX21 ที่มีความบาง และมีหน้าจอขนาด 11.6 นิ้ว ทำงานด้วยโพรเซสเซอร์ Intel Core i5 และมีน้ำหนักเพียง 2.2 ปอนด์ (1 กิโลกรัม)

ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก
 
8. ไฟล์ที่สร้างจากจากโปรแกรมประมวลผลคำ

โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor)

โปรแกรมประมวลผลคำ หรือที่นิยมเรียกกันว่า โปรแกรมเวิร์ดโพรเซสเซอร์ (Word Processor Program) เป็นโปรแกรมที่ช่วยสร้างเอกสารประเภทต่างๆ ได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว อาทิเช่น จดหมาย บันทึกข้อความ ใบปะหน้า โทรสาร แบบฟอร์มต่างๆ เป็นต้น โดยเก็บในสื่อ อิเล็กทรอนิกส์แทนกระดาษ ผู้ใช้สามารถเพิ่มเติม หรือแก้ไขข้อมูลที่จัดเก็บได้ โดยที่ไม่ต้องพิมพ์ ใหม่ทั้งหมด 

ในปัจจุบัน คุณสมบัติทั่วไปของโปรแกรมประมวลผลคำ ส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติที่ช่วยให้สามารถใช้งานได้ง่ายกว่าเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา คุณสมบัติพื้นฐานต่างๆ ของโปรแกรมประมวลผลคำรุ่นใหม่ จะประกอบด้วยเครื่องมือช่วยในการพิมพ์ เครื่องมือช่วยในการแก้ไขข้อมูล การควบคุมการ แสดงตัวอักษรและการจัดรูปแบบหน้าเอกสาร การทำจดหมายเวียนและจ่าหน้าซองจดหมาย

เครื่องมือช่วยในการพิมพ์ของโปรแกรมประมวลผลคำนั้น ช่วยให้ผู้ใช้งานพิมพ์ข้อความได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยคุณสมบัติที่เรียกว่า การม้วนคำ (Word Wrap) ที่ช่วยแยกข้อความขึ้นบรรทัดใหม่ เมื่อจบคำในแต่ละบรรทัดพอดี ผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความ โดยไม่ต้องกังวลว่า ข้อความจะยาวกว่าเส้นขอบขวาของบรรทัดที่กำหนดไว้ เมื่อพิมพ์ข้อความเสร็จเรียบร้อย ก็สามารถบันทึกเก็บไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่มีชื่อแฟ้มข้อมูลกำกับ โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์ซ้ำใหม่ทั้งหมด 

เครืองมือช่วยในการแก้ไขข้อมูลของโปรแกรมประมวลผลคำ เช่น การพิมพ์เพิ่มเติมที่เรียกว่า การแทรก (Insert) โดยโปรแกรมจะทำการร่นคำที่มีอยู่เดิมนั้น ให้เลื่อนไปทางขวามือ เพื่อให้มีช่องว่าสำหรับคำใหม่ หรือ การเขียนทับ (Overwrite) ด้วยการพิมพ์ข้อความใหม่ที่ถูกลงไป ทับแทนคำ หรือข้อความเดิมที่ผิด โดยไม่จำเป็นต้องลบคำเดิมออกก่อน และยังมีเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา และแทนที่คำ เพื่อช่วยให้สามารถแก้ไขคำต่างๆ ได้เร็วขึ้น ด้วยการไม่ต้องพิมพ์คำที่ผิดเหมือนกันใหม่ทุกครั้ง โปรแกรมก็จะทำการค้นหา และแทนที่ให้อย่างอัตโนมัติ และครบทุกคำ

การควบคุมการแสดงตัวอักษร และการจัดรูปแบบหน้าเอกสารนั้น โปรแกรมประมวลผลคำส่วนใหญ่ จะมีความสามารถในการจัดตัวอักษร และย่อหน้าได้อย่างสวยงาม อีกทั้งกำหนดขนาดและรูปแบบตัวอักษรได้หลายรูปแบบ และยังมีชุดตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความพอใจ และตามความเหมาะสมของเอกสาร ส่วนการจัดหน้าเอกสารนั้น โปรแกรมประมวลผลคำสามารถควบคุมการจัดวางหน้าใหม่ โดยอัติโนมัติทุกครั้ง ที่มีการแก้ไขเอกสาร เช่น การกำหนดให้ข้อความในบรรทัด เริ่มที่เส้นขอบซ้ายตรงกัน หรือกำหนดให้ข้อความอยู่ตรงกลางของบรรทัด เป็นต้น

เครื่องมือช่วยในการทำจดหมายเวียน และจ่าหน้าซองจดหมาย เครื่องมือนี้จะช่วยสร้างจดหมายหลักไว้ ๑ ฉบับ พร้อมทั้งกำหนดตำแหน่ง ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงข้อมูล และสร้างแฟ้มข้อมูล สำหรับบันทึกชื่อและที่อยู่ของผู้รับไว้ เมื่อสั่งพิมพ์จดหมายเวียนนั้น หรือจ่าหน้าซองจดหมาย โปรแกรมจะนำข้อมูลมาใส่ในตำแหน่งที่กำหนด ไว้ให้อย่างอัตโนมัติจนครบทุกคน 

ในปัจจุบัน โปรแกรมประมวลผลคำมีการพัฒนาไปอย่างมาก คือ มีเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยในการพิมพ์ หรือสร้างเอกสารเป็นพิเศษ เช่น งานสร้างตาราง การจัดแบ่งข้อความเป็นคอลัมน์ การตรวจสอบตัวสะกด การตรวจสอบไวยากรณ์ การแทรกรูปภาพลงในเอกสาร การใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ และความสามารถในการสร้างเว็บเพจ ดังนั้น โปรแกรมประมวลผลคำ จึงถูกนำมาใช้แทนการใช้เครื่องพิมพ์ดีด และสามารถใช้งานเสมือนโรงพิมพ์ตั้งโต๊ะ
9. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วด้วยคอมพิวเตอร์  

การประมวลผลข้อมูล (Data Processing)

การประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
          การประมวลผลข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการเรียกว่าข้อสนเทศหรือสารสนเทศ (Information)
วิธีการประมวลผลข้อมูล      อาจจำแนกได้ 3 วิธีโดยจำแนกตามอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผล ได้แก่

1.การประมวลผลด้วยมือ
 (Manual Data Processing) เป็นวิธีการที่ใช้มาตั้งแต่อดีตโดยใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ สามารถจำแนกตามอุปกรณ์ที่ใช้ได้เป็น 3 ประการ คือ
– อุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกในการเก็บรักษา และค้นหาข้อมูล ได้แก่ บัตรแข็ง แฟ้ม ตู้เก็บเอกสาร
– อุปกรณ์ที่ช่วยในการนับและคิดคำนวณเป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการใช้ ได้แก่ ลูกคิด เครื่องคิดเลข เป็นต้น
– อุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดลอกข้อมูล ได้แก่ กระดาษ ปากกา ดินสอ เครื่องอัดสำเนา เป็นต้น
การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีข้อมูลปริมาณไม่มากนัก และการคำนวณไม่ยุ่งยากซับซ้อน
2. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องจักรกล (Mechanical Data Processing) เป็นวิวัฒนาการมาจากการประมวลผลด้วยมือ แต่ยังต้องอาศัยแรงคนบ้าง เพื่อทำงานร่วมกับเครื่องจักรกล ในการประมวลผลทางธุรกิจ เครื่องที่ใช้กันมากที่สุด คือ เครื่องทำบัญชี (Accounting Machine) และเครื่องที่ใช้ในการประมวลผลทั่วไปเป็นเครื่องกึ่งอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า เครื่อง Unit Record
3. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (EDP : Electronic Data Processing) หมายถึงการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ นั้นเอง  ลักษณะงานที่เหมาะสมต่อการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  คือ
– งานที่มีปริมาณมาก ๆ
– ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว
– มีขั้นตอนในการทำงานซ้ำ ๆ กัน เช่น งานบัญชี งานการเงิน งานทะเบียนประวัติและงานสถิติ เป็นต้น
– มีการคำนวณที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน เช่น งานวิจัยและวางแผน งานด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น
 10. กฎหรือแนวทางในการใช้ซอฟแวร์ ฮาร์ดแวร์และข้อมูล

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) ที่สามารถสัมผัสได้โดยจะประกอบด้วยอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมการประมวลผลข้อมูลการรับข้อมูลการแสดงผลข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่จับต้องสัมผัสและสามารถมองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมมีทั้งที่ติดตั้งภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) และเชื่อมต่อภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์

เราสามารถแบ่งส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ออกได้เป็น 5 หน่วยที่สำคัญดังนี้

1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

input.jpgทำหน้าที่ในการรับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูลเข้าได้แก่ แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด (Keyboard)เครื่องสแกนต่างๆเช่นเครื่องรูดบัตรสแกนเนอร์ฯลฯ

2. หน่วยความจำ (Memory Unit)

Memory.jpgทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผลและรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเพื่อเตรียมส่งออกหน่วยแสดงข้อมูลต่อไป

3. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU หรือCentral Processing Unit)

CPU.jpgทำหน้าที่ปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรมหน่วยนี้จะประกอบด้วยหน่วยย่อยๆอีก 2 หน่วยได้แก่หน่วยคำนวณเลขคณิตและตรรกวิทยา(ALU หรือArithmetic and Logical Unit)และหน่วยควบคุม (CU หรือControl Unit)

4. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storge)

Secondary Storge.jpgทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมที่จะป้อนเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่องก่อนทำการประมวลผลโดยซีพียูรวมทั้งเป็นแหล่งเก็บผลลัพท์จากการประมวลผลด้วยเพื่อการใช้งานในภายหลัง

5. หน่วยแสดงข้อมูล (Output Unit)

Output Unit.jpgทำหน้าที่แสดงผลลัพท์จากการประมวลผลเช่นจอภาพเครื่องพิมพ์เป็นต้น


ซอฟต์แวร์ ( Software )


Software (ซอฟต์แวร์) เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้โดยตรงเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้

ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือOperating Software : OS)


Operating Software.jpg

หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงานติดต่อการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้Software
ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่ในการจัดการระบบดูแลรักษาเครื่องการแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ

ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งได้ 4 ชนิดดังนี้

1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึงชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์
และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เช่นWindows XP , DOS , Linux , Mac OS X
1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้นและการป้องกันการรบกวน
โดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์เช่นโปรแกรมป้องกันไวรัส, โปรแกรมDefrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้นโปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมUninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data)
1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือDriver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออกของแต่ละอุปกรณ์
เช่นเมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จนำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้องทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้ โดยปกติโปรแกรมwindows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดเวอร์เองเช่นไดเวอร์สำหรับเมาส์,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้USB Port ,ไดเวอร์เครื่องพิมพ์แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดเวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์
1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไรเช่นเมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษาC)เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจเพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข0กับตัวเลข1เท่านั้น

ตัวแปลภาษาแบ่งได้3ตัวแปลดังนี้

- แอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่องเช่นแปลจากภาษาAssembly เป็นภาษาเครื่อง
- อินเทอพรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทีละบรรทัดคำสั่งเช่นโปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษาBasic
ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษาเครื่องทีละบรรทัดคำสั่ง
- คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียวเช่นโปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษาC
ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษาเครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียวซึ่งจะเป็นที่นิยมมากกว่าข้อ2

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )

application.jpg


เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่างๆตามความต้องการของผู้ใช้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรงปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่างๆ ออกจำหน่ายมากการประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลายเราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือซอฟต์แวร์สำเร็จและซอฟต์แวร์ ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมายเช่นซอฟต์แวร์ประมวลคำซอฟต์แวร์ตารางทำงานฯลฯ การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้นจนในปัจจุบันสามารถ นำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กติดตัวไปใช้งานในที่ต่างๆได้สะดวก การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนา เพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้นหรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน

ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package)

ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไปซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมากซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์
ที่บริษัทพัฒนาขึ้นแล้วนำออกมาจำหน่ายเพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรงไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีกซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่าย
ในท้องตลาดทั่วไปและเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี5กลุ่มใหญ่ได้แก่

1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ(word processing software)

เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสารสามารถแก้ไขเพิ่มแทรกลบและจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดีเอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูลเรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบเอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงามปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมายซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบันเช่นวินส์เวิร์ดจุฬาจารึกโลตัสเอมิโปร

2)ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software)

เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณการทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงานใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้มีเครื่องมือคล้ายปากกายางลบและเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จบนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลขข้อความหรือสูตรสามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนดผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่นๆได้กว้างขวางซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้เช่นเอกเซลโลตัส

3)ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software)

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูลและจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูลการรวบรวมข้อมูลหลายๆเรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์เราก็เรียกว่าฐานข้อมูลซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บการเรียกค้นมาใช้งานการทำรายงานการสรุปผลจากข้อมูลซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้เช่นเอกเซสดีเบสพาราด็อกฟ๊อกเบส

4)ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software)

เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูลการแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิกราฟและรูปภาพได้ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอเช่นเพาเวอร์พอยต์โลตัสฟรีแลนซ์ฮาร์วาร์ดกราฟิก

5)ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software)

ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกลโดยผ่านทางสายโทรศัพท์ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เช่นอินเทอร์เน็ตทำให้สามารถใช้บริการอื่นๆเพิ่มเติมได้สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูลใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลอ่านข่าวสารนอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรมเพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์เช่นโปรคอมครอสทอล์คเทลิก
                                                     เดี๋ยวมีต่อตั้งแต่ข้อที่ 11 อีกอันนึงคะ
Cr. http://educommatic.wikispaces.com

1 ความคิดเห็น: